อย่าเปรียบเทียบ

Browse By

อย่าเปรียบเทียบ ตัวคุณกับคนอื่น คำว่า “ที่ 1 ในรุ่นเดียวกัน” เป็นคำที่สะท้อนค่านิยมของสังคมการทำงานได้ดี เวลาเรานึกถึงเรื่องหน้าที่การงาน การเปรียบเทียบกับคนรอบข้างอย่างการได้อยู่ในตำแหน่งสูงที่สุดเมื่อเทียบกับคนรุ่นเดียวกัน หรือการได้เป็นผู้จัดการแผนกที่อายุน้อยที่สุดนั้นเป็นเกณฑ์การประเมินที่เข้าใจได้ง่ายที่สุด ในยุดสมัยที่การสร้างคนเก่งยังเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาการแข่งขันกับคนในรุ่นเดียวกันจึงเป็นสิ่งที่มีความหมาย

ตำนานความสำเร็จของรุ่นพี่อย่างเช่น “สมัยฉันอายุเท่านาย ฉันได้เป็นผู้จัดการแผนกแล้ว” ก็มีความหมายเช่นกัน ทว่าโลกปัจจุบันหมุนไปอย่างรวดเร็ว การดำเนินงานของบริษัทสมัยที่เราเข้าไป่ทำเมื่อครั้งเรียนจบใหม่ ๆ จะแตกต่างจากในอีก 10 ปีต่อมาอย่างสิ้นเชิง เมื่อสภาพแวดล้อมในการทำงานเปลี่ยนไป เกณฑ์การประเมินก็เปลี่ยนตามไปในยุคสมัยนี้การเปรียบเทียบกับเพื่อนรุ่นเดียวกันหรือรุ่นพี่ไม่ได้มีความหมายอะไรเลย

หน้าที่การงานเป็นเพียงเศษเสี้ยวหนึ่งของชีวิต ไม่มีหลักเกณฑ์ใดที่ใช้วัดได้อย่างเป็นกลางว่าชีวิตจะประสบความสำเร็จหรือไม่
เอาเป็นว่าเกณฑ์สำคัญคือคุณสนุกกับสิ่งที่ทำอยู่หรือเปล่า หรือบางคนอาจจะยึดแนวคิดที่ว่า “มีความสุขหรือไม่” เป็นเกณฑ์วัด
การเปรียบเทียบส่วนหนึ่งของชีวิตตัวเองกับคนอื่นนั้นเป็นเรื่องน่าขัน ถ้าถามว่าเปรียบเทียบหน้าที่การงานกับคนอื่น แล้วตัวเองได้อะไร แน่นอนว่าไม่ได้อะไรเลย มีแต่จะอิจฉาตาร้อนหรือรู้สึกไม่พอใจเสียเปล่า ๆ หากคุณตั้งเป้าหมายการทำงานและพยายามไปให้ถึง สักวันหนึ่งคุณจะรู้สึก “สนุก” กับการทำงานอย่างแน่นอน คนที่สนุกกับการทำงานย่อมมีคนเห็นคุณค่า ขอแค่คุณเดินไปตามจังหวะชีวิตของตัวเองอย่างไม่เร่งรีบก็พอ

https://chezcaroline.com/

รู้เท่าทันความคิดของตัวเอง
สุภาษิตญี่ปุ่นบทหนึ่งกล่าวว่า “คนเรามีนิสัยแย่ ๆ ด้วยกันทั้งนั้น”นิสัยแย่ ๆ ที่ว่านี้หมายถึงคำพูดหรืออากัปกิริยาที่คนอื่นสามารถสังเกตเห็นได้ ทว่าคนเราทุกคนก็มีนิสัยแย่ ๆทางความคิดและความรู้สึกเหมือนกัน ถ้าเป็นนิสัยแย่ ๆ ที่คนอื่นสังเกตเห็น เขาจะเตือนเราได้ แต่ถ้าเป็นเรื่องของความคิด ไม่มีใครล่วงรู้ความคิดของเราได้หรอกครับ เราจึงต้องรู้เท่าทันความคิดของตัวเอง เมื่อคุณรู้เท่าทันความคิดของตัวเองแล้ว ให้ยอมรับนิสัยแย่ ๆ แล้วหาทางรับมือกับมัน ผมมีนิสัยแย่ ๆ อย่างหนึ่งคือมักต่อต้านสิ่งใหม่ ๆ และออกอาการปกป้องตัวเอง อย่างเช่นเวลามีใครขอให้ช่วยงาน ความรู้สึกแวบแรกของผมคือ “ซวยแล้วเรา” หรือไม่ก็ “งานเข้าแล้ว” จากนั้นผมก็จะแสดงกิริยาท่าทางที่ไม่ดีออกไป ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผมทำงานผิดพลาดบ่อย จนในที่ผมก็รู้ว่าตัวเองมีนิสัยแย่ ๆ ทางความคิด

ผมรู้เท่าทันตัวเองว่าความรู้สึกแวบแรกเป็นการปกป้องตัวเองมากเกินไป จึงปรับปรุงตัวด้วยการแสดงกิริยาท่าทางให้ก้าวร้าวน้อยลง หรือใช้เวลาพิจารณาทบทวนอย่างเป็นกลางแล้วค่อยตัดสินใจ ทำให้ตอนนี้คนรอบข้างเลิกมองว่าผมเป็นคนชอบปกป้องตัวเองจนเกินไปแล้วครับ ลองพิจารณานิสัยแย่ ๆ ทางความคิดของตัวเองในแต่ละวัน แล้วปรับเปลี่ยนมันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดูนะครับ

ทำเรื่องง่าย ๆ ให้ติดเป็นนิสัย สมมุติว่าคนคนหนึ่งอยากจะเริ่มเรียนภาษาอังกฤษหรือสอบ TOEIC ให้ได้คะแนนสูง ๆ เขาควรจะเริ่มต้นจากอะไรดีครับเขาอาจจะไปสมัครเรียนที่โรงเรียนสอนภาษาอังกฤษ หรือซื้อตำราภาษาอังกฤษเล่มหนา ๆ มาอ่านเองก็ได้ แต่ถ้าให้ผมพูดจากประสบการณ์ของตัวเอง ผมว่าวิธีเรียนรู้เหล่านี้ไม่ยั่งยืน ในตอนแรกเขาอาจจะมีความมุมานะ แต่พอนานไปการเรียนรู้จะกลายเป็นความยากลำบากจนกระทั่งต้องล้มเลิกไปในที่สุด เวลาคุณเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ ๆ (ไม่ใช่แค่การเรียนภาษาอังกฤษ) ผมขอแนะนำให้คุณเริ่มจากเรื่องง่าย ๆ ก่อนกรณีการเรียนภาษาอังกฤษ เคล็ดลับอยู่ที่การเริ่มทำเรื่องเบา ๆ ที่อยู่ตรงกลางระหว่างการเล่นกับการเรียนรู้
เช่น การหัดอ่านอีเมล์ภาษาอังกฤษที่นาน ๆ จะได้รับสักฉบับ หรือเวลาอยู่ที่บ้านก็ให้เปิดรายการวิทยุที่เป็นภาษาอังกฤษทิ้งไว้

ถ้าคุณเริ่มทำแบบนี้ให้ติดเป็นนิสัย การเรียนรู้จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แล้วถ้าคุณอยากพัฒนาไปสู่ขั้นต่อไป ต่อให้ยากขึ้นอีกนิดคุณก็ยังทำได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ติดขัด ส่งผลให้คุณเรียนในโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษหรืออ่านตำราเล่มหนาได้สบาย ๆ โดยไม่รู้ตัว
เส้นทางนี้อาจดูเหมือนอ้อม แต่อันที่จริงแล้วมันเป็นทางลัดสู่การบรรลุเป้าหมายต่างหาก การทำอย่างต่อเนื่องคือพลัง แต่จงอย่าทำเรื่องที่ต้องใช้พลังอย่างต่อเนื่องhttps://chezcaroline.com/