ตื่นตระหนก(Panic)

Browse By

ตื่นตระหนก(Panic) เวลามีปัญหาประดังกันเข้ามา ไม่ว่าใครก็ต้องสะดุ้งสะเทือนกันบ้างล่ะครับ แต่ถ้าคุณรู้สึกประหม่า คุณจะไม่สามารถตัดสินใจหรือรับมือกับสถานการณ์ได้อย่างถูกวิธี ผมเคยเห็นคนที่กระวนกระวายหรือร้อนรนจนเป็นอุปสรรดต่อการสื่อสารกับ
คนอื่นมานักต่อนักแล้ว ทว่ายังมีบางคนที่รับมือกับสถานการณ์ได้ดีรอบตัวผมมีแต่คนที่สามารถทำงานอย่างมีสติท่ามกลาง
อุปสรรคต่าง ๆ ทำให้ผมอดคิดไม่ได้ว่า “ทำไมเขาถึงยิ้มได้ในสถานการณ์แบบนี้นะ”คำพูดติดปากของคนแบบนี้คือ “มันไม่ถึงกับตาย
หรอก”คุณจะบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ก็ต่อเมื่อคุณสามารถควบคุมตัวเองและพิจารณาความร้ายแรงของสถานการณ์ได้อย่างมีสติ แล้วหาคำตอบว่าตอนนี้ควรทำอะไร

สิ่งที่คุณต้องระมัดระวังเป็นอันดับแรกคืออย่าตื่นตระหนกเพราะมันไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น คุณต้องลงมือทำอะไรสักอย่างเป็นการด่วน ดังนั้น คุณต้องมีสติสุภาพบุรุษชาวอังกฤษจะได้รับการอบรมและปลูกฝังแนวคิด “Don’t Panic (อย่าตื่นตระหนก)” ตั้งแต่อายุยัง
น้อย ดังนั้น พวกเขาจึงมีภาพลักษณ์ที่สุขุมเยือกเย็น คุณต้องหมั่นเตือนสติตัวเองว่า “จริง ๆ แล้วปัญหาทั้งหมดไม่ใช่เรื่องใหญ่” พอเกิดปัญหาขึ้นจริง ๆ อารมณ์ของคุณจะกลับสู่ภาวะปกติได้ทันที และสามารถรับมือกับมันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กำหนดวิธีคลายเครียด
คนเรามีวิธีรับมือกับความเครียดมากมาย เช่น “แก้ไขที่ต้นเหตุของความเครียด” หรือ “พยายามไม่เครียด” แต่ผมขอแนะนำวิธี “คลายเครียด” แบบเฉพาะหน้าซึ่งไม่ต้องลงทุนลงแรงอะไรเลย แต่ละคนมีวิธีคลายเครียดแบบเฉพาะหน้าที่แตกต่างกันไป ให้คุณเตรียมหาวิธี “คลายเครียดในแบบของตัวเอง”ไว้หลาย ๆ วิธีเมื่อคุณเครียด คุณย่อมไม่มีเวลาหรือกะจิตกะใจมาคิดหาวิธีคลายเครียดแน่นอน คุณจึงควรเตรียมวิธีคลายเครียดที่สามารถทำได้ทันทีที่รู้สึกเครียดขึ้นมา

ตัวอย่างเช่น เวลาที่ผมเครียด ผมจะเลือกหนังสือมาอ่านหลาย ๆ เล่ม ขณะอ่านหนังสือผมจะคิดได้ว่าความเครียดที่ตัวเองรู้สึกนั้นเป็นเรื่องไร้สาระ และทุกครั้งหลังจากอ่านจบความรู้สึกดี ๆ ก็จะเข้ามาแทนที่ความเครียด คุณจะคลายเครียดด้วยการชมภาพยนตร์ ขับรถเล่น ไปท่องเที่ยว หรือเล่นกีฬาก็ได้ มีเพียงคุณเท่านั้นที่กำหนดวิธีเยียวยาความรู้สึกของตัวเองได้ คุณควรเตรียมวิธีคลายเครียดที่สามารถใช้กับเพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ ไว้ให้พร้อมด้วย เพื่อเป็นการผูกมิตรไมตรีต่อกันและรักษาบรรยากาศที่ดีในการทำงาน

ให้ย้อนกลับไปอ่านตำราเมื่อเผชิญกับปัญหาหนัก
สำนวนที่ว่า “เขียนไว้ในตำรา” หรือ “ตามตำรา” มีความหมายในเชิงลบ กล่าวคือ มันหมายถึงสิ่งที่ใดร ๆ ก็รู้กันว่านำมาปฏิบัติจริงไม่ได้
แต่ถ้าคุณลองมองดูคนรอบ ๆ ตัว คนที่มีผลงานดีเด่นจะปฏิบัติตามความรู้พื้นฐานที่เขียนไว้ใน “ตำรา” ผมเคยถามคนที่ประสบความสำเร็จหรือผู้นำระดับสูง ว่าพวกเขาทำอะไรเป็นพิเศษหรือมีความสามารถในระดับอัจฉริยะหรือไม่ คำตอบที่ได้คือพวกเขามุ่งมั่นกับการปฏิบัติตามความรู้พื้นฐานในตำรานั่นเอง เรามักจะได้ยินคำกล่าวที่ว่าการทำเรื่องที่ดูเหมือนจะธรรมดาแท้จริงแล้วเป็นเรื่องยาก ดังนั้น ผู้ที่ประสบความสำเร็จจึงพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าความรู้พื้นฐานนั้นมีความสำคัญ

นอกจากนี้ เป้าหมายที่คุณวางไว้ยิ่งยากเท่าไหร่ก็ยิ่งต้องปฏิบัติตามความรู้พื้นฐานมากเท่านั้น ตัวอย่างเช่น การทำงานแปลกใหม่ การทำงานในโครงการที่มีผู้ร่วมงานจำนวนมาก หรือโครงการระยะยาว ฯลฯ บางคนอาจจะคิดว่า “การทำงนแปลกใหม่จำเป็นต้องใช้ความคิดและวิธีการที่ต่างไปจากเดิมไม่ใช่เหรอ” หรือ “บริษัทของผมมีรูปแบบการทำงานที่ไม่เหมือนใครจึงใช้ทฤษฎีทั่วไปไม่ได้”
นั่นก็เป็นความจริงครับ ทว่าเราจะนำความรู้มาประยุกต์ใช้ไม่ได้เลยหากปราศจากความรู้พื้นฐานเวลาที่คุณเดือดร้อนหรือประสบกับปัญหาหนัก อันดับแรกที่คุณต้องทำคือการย้อนกลับไปทำตามตำราซึ่งเป็นทางลัดสู่การบรรลุเป้าหมายอย่างแท้จริงhttps://chezcaroline.com/