เคล็ดลับการสื่อสาร จำชื่อคู่สนทนา เมื่อผู้คนในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักทักทายกัน จะเรียกชื่อคู่สนทนา เช่น “ไฮ จอห์น” “กู๊ดมอร์นิ่ง คริส” บางครั้งพวกเขาก็เรียกชื่อคู่สนทนาแทนคำทักทาย ซึ่งเราเห็นกันบ่อย ๆ ในภาพยนตร์และละครต่างประเทศ
คุณต้องลองเรียกชื่อคู่สนทนาถึงจะรู้ว่ามันสร้างความรู้สึกสนิทสนมได้มากกว่าการทักทายแค่ว่า “ไฮ” หรือ “กู๊ด-มอร์นิ่ง” อย่างเห็นได้ชัดตามธรรมเนียมของคนญี่ปุ่น ถ้าคุณเรียกชื่อคู่สนทนาเวลาทักทายกัน อีกฝ่ายจะคิดว่าคุณมีธุระบางอย่างเป็นพิเศษกับเขา ผมจึงไม่แนะนำให้เรียกชื่อเวลาทักทายครับ แต่ถ้ามีการแลกเปลี่ยนนามบัตรในการพบกันครั้งแรก แล้วคุณตั้งใจยกชื่อคู่สนทนา เช่น “คุณ 00 เป็นอย่างไรบ้างคะ หรือ “เหมือนที่คุณ 0๐ พูดไปเมื่อกี้นี้” ก็จะทำให้เกิดความรู้สึกใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นอย่างแน่นอน
จริง ๆ แล้วผมจำซื่อคนไม่เก่งเอาเสียเลย แต่ผมพยายามฝึกฝนอยู่ทุกวันเพราะรู้ว่าการเรียกชื่อคู่สนทนานั้นมีประโยชน์มหาศาล
คุณไม่ต้องถึงกับทำสมุดรายชื่อและท่องอย่างเอาเป็นเอาตายหรอกครับ ถ้าคุณเดินสวนหรือเห็นคนที่เคยเจออยู่ไกล ๆ ไม่สำคัญว่าคุณจะเข้าไปคุยกับเขาหรือไม่ ขอแค่คุณนึกชื่อเขาออกก็พอแล้ว เพียงแค่คุณฝึกฝนการจำชื่อทุกวัน คุณจะจำชื่อเขาได้แม่นและยังนึกถึงความทรงจำอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคนคนนั้นได้ด้วย เช่น หัวข้อหรือโครงการที่คุณกับเขาเคยพูดคุยกันเวลาที่เดินสวนกัน สิ่งเหล่านั้นจะกลายเป็นหัวข้อสนทนาหรือกลายเป็นลิ้นชักที่คุณเรียกใช้งานได้ทันทีการเดินสวนกันในออฟฟิศอาจเป็นสัญญาณบอกว่าอีกไม่นานเราคงจะได้ทำงานร่วมกัน ขอแค่คุณฝึกฝนการจำชื่อทุกวัน เมื่อถึงเวลานั้นคุณจะเริ่มบทสนทนาได้อย่างรวดเร็ว

สนใจประวัติส่วนตัว นอกจากการจดจำชื่อคู่สนทนาแล้ว การรู้ข้อมูลของอีกฝ่ายจะช่วยให้คุณสนทนากับเขาได้ราบรื่นยิ่งขึ้น คุณควรจำบ้านเกิดหรือรสนิยมความชอบของคู่สนทนาไห้ขึ้นใจ เมื่อคุณจำได้แล้ว เวลาเจอข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งเหล่านั้นในหนังสือพิมพ์หรือโทรทัศน์ คุณจะสนใจโดยอัตโนมัติ ทำให้คุณมีความรู้ที่หลากหลายด้น และมันจะกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการสนทนาได้ จะว่าไปแล้วผมเคยชวนแฟนเบสบอลทีมไจแอนท์คุยว่าปีนี้ทีมไจแอนท์เก่งจังเลยนะครับ” แล้วคุยต่อไปถึงเรื่อง “พักนี้ผมกลุ้มใจเรื่องนี้” และ “ลองมาทำงานนี้ด้วยกันไหมครับ”นอกจากคุณจะรู้ว่าควรชวนคุยเรื่องอะไรแล้ว คุณยังสามารถหลีกเลี่ยงประเด็นที่อาจทำให้เกิดความบาคหมางได้ เช่น ศาสนา การเมือง และเชื้อชาติ
แต่ผมไม่ได้บอกให้คุณไปคันประวัติและท่องจำอย่างเอาเป็นเอาตาย แค่คุณตระหนักว่าจะนำข้อมูลที่ได้รู้มาไปเก็บไว้ในลิ้นชักสมองก็พอแล้ว ผมเป็นคนที่จำวันเกิดเพื่อนรวมถึงสมาชิกในครอบครัวของพวกเขาได้ดี เมื่อใกล้ถึงวันเกิดของพวกเขา ผมจะส่งอีเมล์ไปหา บางครั้งก็จำผิดไปหนึ่งวันหรือสองวัน แต่พวกเขาก็ยังรู้สึกดีใจมาก และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ที่ดี น่าเสียดายที่ความสามารถพิเศษนี้กลายเป็นเรื่องธรรมดาเมื่อ Facebook ถือกำเนิดขึ้น แต่ไม่ว่าอย่างไร ขอแค่คุณเริ่มต้นสนใจประวัติของอีกฝ่ายก็ พอแล้วครับ
สังสรรค์กันบ้างนาน ๆ ครั้ง บ่อยครั้งที่การพูดคุยแบบเป็นกันเองนอกเหนือจากเรื่องงานจะช่วยให้การทำงานดำเนินไปได้ด้วยดีถ้าพูดถึงการไปไหนมาไหนกับเพื่อนร่วมงานนอกเวลางาน เราจะนึกถึงการไปตึกอล์ฟและการจัดกิจกรรมสำหรับพนักงาน สมัยนี้การสื่อสารกันโดยช้สื่อออนไลน์อย่าง Facebook และ Twitter ได้กลายเป็นเรื่องปกติ หากคุณติดต่อพูดคุยกับเพื่อนร่วมงานในเรื่องอื่น ๆ นอกเหนือจากเรื่องงานโดยใช้สื่อออนไลน์เหล่านี้เป็นประจำ เวลาคุยเรื่องงานกันจริง ๆ ก็จะทำให้สนิทสนมกันอย่างรวดเร็วการไปกินดื่มก็เช่นเดียวกัน ยิ่งถ้าต่างฝ่ายต่างเปิดใจก็จะส่งผลดีต่อการทำงานอย่างแน่นอน เวลากินข้าวทุกคนจะรู้สึกผ่อนคลาย
ตัวอย่างเช่น เวลาคุณไปดื่มกับเพื่อนร่วมงานที่เคยคุยกันเฉพาะเรื่องงาน พอต่างฝ่ายต่างรู้ว่าชอบตกปลาเหมือนกัน ระยะห่างระหว่างคุณกับเพื่อนร่วมงานจะแคบลงทันทีการไปดื่มกับเพื่อนร่วมงานจึงเป็นเรื่องน่าสนุก หลังจากนั้นหากมีงานอะไรใหม่ ๆ เพื่อนร่วมงานก็มีแนวโน้มอยากจะมอบหมายให้คุณทำมากกว่าคนอื่นที่เขาไม่ค่อยคุ้นเคยด้วย นั่นคือธรรมชาติของมนุษย์ครับ มีคนไม่น้อยที่เห็นว่าความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานแค่คุยกันเรื่องงานก็พอแล้ว แต่ขอให้คุณจำไว้ว่าการพูดคุยกับเพื่อนร่วมงานเกี่ยวกับเรื่องราวในชีวิตประจำวันจะก่อให้เกิดโอกาสใหม่ ๆ ได้ ลองสำรวจตัวคุณเองสิครับว่าคุณสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานอย่างเป็นกันเองมากน้อยแค่ไหนhttps://chezcaroline.com/