ความคิดเห็น (Commemts)

Browse By

ความคิดเห็น (Commemts) แยกคำบ่นออกจากความคิดเห็นคุณรู้ถึงความแตกต่างระหว่าง “คำบ่น” กับ “ความคิดเห็น” หรือเปล่าครับ
พจนานุกรมได้ให้คำนิยามไว้ดังนี้

คำบ่น : การคร่ำครวญถึงเรื่องที่พูดไปก็เปล่าประโยชน์
ความคิดเห็น : การยืนกรานความคิดหรือสิ่งที่อยู่ในใจที่มีต่อปัญหาหนึ่ง
ผมขออธิบายง่าย ๆ ว่าคำบ่นจะ “ไม่นำไปสู่การกระทำในขั้นต่อไป” ในทางกลับกันความคิดเห็นจะ “นำไปสู่การกระทำในขั้นต่อไป” เช่น การปรับปรุงหรือการเสนอข้อมูลบางกรณีที่เราไม่พอใจหรือร้องเรียนอะไรบางอย่าง ถ้าเราชี้แนะวิธีแก้ไขไปด้วย “คำบ่น” ก็จะกลายเป็น “ความคิดเห็น” ถ้าคุณแสดงความคิดเห็นในทีมว่า “ควรทำอย่างไรต่อไป” แทนที่จะเอาแต่พร่ำบ่น ทีมก็จะเดินหน้าต่อไปได้

ถ้าอย่างนั้นคำบ่นก็เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นเลยน่ะสิจริง ๆ แล้วผมคิดว่ามันเป็นสิ่งจำเป็น เพราะว่าในคำบ่นมีความในใจของเพื่อนร่วมทีมแฝงอยู่ ดังนั้น คำบ่นที่คุณได้ยินจึงเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญในการประเมินความเสี่ยงหรือทำความเข้าใจสถานการณ์ในปัจจุบัน โดยเฉพาะคนที่เป็นหัวหน้าทีม ขอให้คิดเสียว่าการฟังลูกทีมบ่นเป็นหน้าที่อย่างหนึ่ง หลังจากฟังลูกทีมบ่นจนจบแล้ว หัวหน้าทีมต้องปรึกษา
กับลูกทีมว่า “ควรทำอย่างไรต่อไป” เพื่อเปลี่ยนคำบ่นให้เป็นความคิดเห็น

ปกติแล้วลูกทีมจะคิดว่าการบ่นหัวหน้าทีมเป็นเรื่องที่ควรระวัง แต่ผมคิดว่าการบ่นหัวหน้าทีมให้คนที่ไว้ใจได้ฟังบ้าง ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่จะมาเป็นหัวหน้าทีมคนต่อไปควรรู้ว่าลูกทีมไม่พอใจอะไรในตัวหัวหน้าทีมคนปัจจุบัน นี่คือคุณลักษณะอย่างหนึ่งของการทำงานเป็นทีมที่แข็งแกร่ง

สวมวิญญาณกิ้งก่า
เรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้เป็นข้อสรุปที่ผมได้มาจากประสบการณ์ส่วนตัวในการทำงานร่วมกับบริษัทหลายแห่ง จึงไม่แปลกเลยถ้าจะมีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย หากเราสามารถเปลี่ยนบุคลิกของตัวเองให้สอดคล้องกับคนอื่นได้เหมือนกิ้งก่าเปลี่ยนสี เวลาทำงานร่วม
กันเป็นทีม ความสัมพันธ์ของคนในทีมจะดำเนินไปได้ราบรื่นขึ้น ตัวอย่างเช่น เวลาอยู่กับคนที่ชอบพึ่งพาคนอื่น ผมจะแสดงความเป็นผู้นำและความมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ เวลาอยู่กับคนที่มีความเป็นผู้นำสูง ผมจะเผยให้เขาเห็นข้อบกพร่องของผม เวลาอยู่กับคนที่ชอบกีพา ผมจะบอกว่าเคยอยู่ชมรมกีฬา เวลาอยู่กับหนอนหนังสือ ผมจะแสดงออกว่าเป็นคนรักการอ่านวรรณกรรม ผมไม่ได้หลอกลวงคนอื่นนะครับ เพราะว่าทั้งหมดนี้คือตัวตนของผมจริง ๆ

อันที่จริงมันไม่ใช่การเสแสร้ง แต่เรียกว่าเป็นการดึงเอาบุคลิกที่เข้ากับคนอื่นได้ออกมาจากลิ้นชักของตัวเองจะถูกต้องกว่า การทำแบบนี้จะช่วยให้คนอื่นทำงานร่วมกับคุณด้วยความรู้สึกดี การสื่อสารจะราบรื่นขึ้นและการทำงานจะดำเนินไปได้ด้วยดี (แน่นอนว่าคุณไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนตัวตนของคุณเลย) ลองทำดูนะครับ เพราะว่าการเปลี่ยนบุคลิกแต่เพียงเปลือกนอกแค่ชั่วคราวถือเป็นทักษะทางธุรกิจที่สำคัญอย่างหนึ่ง

ถอยไปข้างหน้า
ผมได้แนะนำเทคนิดต่าง ๆ เพื่อให้คุณและเพื่อนร่วมทีมมุ่งสู่จุดมุ่งหมายในการทำงานไปพร้อมกัน แต่ในความเป็นจริงย่อมมีเพื่อนร่วมทีมที่คุณไม่ถูกชะตาและชวนให้คิดว่า “คนไม่เอาไหนก็ไม่เอาไหนอยู่วันยังค่ำ”คนส่วนใหญ่จะรับมือกับสถานการณ์นี้ด้วยการเผชิญ
หน้ากันเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาหรือไม่ก็อดทนอดกลั้นไว้ แต่ผมคิดว่าบางครั้งการหนีไปจากตรงนั้นเพื่อไม่ให้ สถานการณ์เลวร้ายยิ่งขึ้นก็เป็นวิธีที่ดีเหมือนกัน เมื่อพูดคำว่า “หนี” เราจะนึกไปถึงการถอดใจหรือความพ่ายแพ้ แต่อันที่จริงการถอยร่นหรือการถอนกำลังเป็น
กลยุทธ์หนึ่งที่น่าภาคภูมิใจ แม้คุณจะถอนตัวออกจากทีม แต่หลังจากที่คุณเข้าไปร่วมกับทีมใหม่ คุณจะมีโอกาสได้ลองทำงานในรูปแบบอื่น ๆ

หรือได้พยายามพัฒนาความสามารถของตัวเอง สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นการกระทำเชิงรุก ไม่ใช่การยอมแพ้อย่างแน่นอน วิธีรับมือที่แย่ที่สุดคือการพยายามอดทนเพื่อเอาชนะ สถานการณ์ที่ตัวเองกำลังเผชิญอยู่ซึ่งจะส่งผลเสียทั้งต่อร่างกายและจิตใจ ซ้ำร้ายสุขภาพอาจย่ำแย่จนไม่อาจเยียวยาให้กลับมาดีเหมือนเดิมได้ การตั้งใจถอนกำลังอย่างกล้าหาญก่อนที่สถานการณ์จะเลวร้ายนับว่าเป็นวิธีรับมือที่ดีที่สุดhttps://chezcaroline.com/